เลือกสี
Retail Sales Price: Panasonic Online Price: SHOP NOW SHOP NOW WHERE TO BUY Buy from Panasonic Where to Buy Out of Stock at Panasonic Online

PM2.5 ปัญหาใหญ่ต่อสุขภาพ

PM2.5 มีอยู่ทุกที่ และกลายเป็นปัญหาใหญ่ไปทั่วโลก

วิวแบบพาโนรามาของเส้นขอบฟ้าในเมืองที่เต็มไปด้วยมลพิษ

PM2.5 คืออะไร

PM2.5 คือสารมลพิษในอากาศชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นอนุภาคฝุ่นละอองขนาดเล็กที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาด 2.5 ไมโครเมตร หรือเล็กกว่า อนุภาคเหล่านี้มีขนาดเล็กพอที่จะแทรกซึมเข้าไปในปอดได้เมื่อหายใจ และถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ และผลเสียต่อสุขภาพอีกมากมาย

PM2.5 เกิดจากการเผาไหม้ของยานยนต์ โรงงานผลิตไฟฟ้า กระบวนการในอุตสาหกรรม และไฟป่า และยังสามารถก่อตัวขึ้นได้จากปฏิกิริยาเคมีระหว่างสารมลพิษอื่นๆ ในชั้นบรรยากาศ เช่น ซัลเฟอร์ไดออกไซด์และไนโตรเจนออกไซด์

ระดับของ PM2.5 กำลังเปลี่ยนแปลงไปทั่วโลก

มือกำลังโอบอุ้มโลก

ระดับของ PM2.5 ในชั้นบรรยากาศมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาซึ่งเป็นผลจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น รูปแบบของสภาพอากาศ กิจกรรมทางอุตสาหกรรม และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการขนส่ง

ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ ความกังวลต่อผลกระทบของ PM2.5 ที่มีต่อสุขภาพของประชาชนได้เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตเมืองที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น จากการสังเกตพบว่าระดับของ PM2.5 แตกต่างกันมากในภูมิภาคต่างๆ ของโลก โดยบางพื้นที่จะมีระดับความเข้มข้นของมลพิษที่สูงเนื่องจากปัจจัยต่างๆ เช่น ไฟป่าหรืออุตสาหกรรมหนัก

ดังนั้น หลายประเทศจึงได้กำหนดมาตรการต่างๆ ในการเฝ้าระวัง และลดระดับ PM2.5 เช่น บังคับใช้กฎระเบียบด้านคุณภาพอากาศที่เข้มงวดขึ้น และส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสะอาด1

แม้จะมีความพยายามเหล่านี้ แต่ PM2.5 ก็ยังคงเป็นปัญหาใหญ่ในด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม จึงจำเป็นต้องมีการเฝ้าระวัง และพยายามลดผลกระทบอย่างต่อเนื่องเพื่อปกป้องสุขภาพของประชาชน

ดัชนีคุณภาพอากาศ

การแสดงระดับคุณภาพอากาศ

แล้วเราจะทราบได้อย่างไรว่าอากาศที่เราหายใจเข้าไปมีมลพิษหรือไม่ มลพิษที่ว่านี้สามารถวัดได้โดยใช้ดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) AQI คือเครื่องมือในการวัดคุณภาพของอากาศภายนอก และแสดงข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อสุขภาพของมนุษย์ ดัชนีดังกล่าวประกอบขึ้นมาจากสารมลพิษชนิดต่างๆ เช่น โอโซน อนุภาคฝุ่นละอองขนาดเล็ก และคาร์บอนมอนอกไซด์ ซึ่งทราบกันดีว่าเป็นสารมลพิษที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพอากาศ

ค่า AQI จะถูกวัดโดยใช้ระดับ 0 ถึง 500 โดยค่าที่มากแสดงถึงคุณภาพอากาศในระดับต่ำ

หากค่า AQI อยู่ในช่วง 0 ถึง 50 จะถือว่าคุณภาพอากาศอยู่ในระดับดี ในขณะที่ค่าระหว่าง 151 ถึง 200 คือค่าที่ไม่ดีต่อสุขภาพสำหรับบุคคลในกลุ่มอ่อนแอ และค่าที่สูงกว่า 300 จะถือว่าเป็นอันตรายสำหรับทุกคน

หน่วยงานรัฐหลายแห่งนำค่า AQI มาใช้ เช่น องค์กรพิทักษ์สิ่งแวดล้อมของสหรัฐอเมริกา (EPA) เพื่อสื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพอากาศให้ประชาชนทราบ และตัดสินใจเกี่ยวกับระเบียบข้อบังคับด้านสิ่งแวดล้อม

นอกจากนี้ ในเมืองหลายแห่งและภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลกยังได้จัดทำโปรแกรมตรวจสอบคุณภาพอากาศของตนเองขึ้นมาและใช้ AQI เป็นเครื่องมือในการติดตามแนวโน้มคุณภาพอากาศ และระบุอันตรายที่อาจเกิดขึ้นต่อสุขภาพ2

เมืองที่มีมลพิษน้อยที่สุด และมากที่สุดในโลก

รายชื่อเมืองที่มีมล3พิษน้อยที่สุด4ในโลกอาจแตกต่างกันไปตามแหล่งข้อมูล และวิธีการที่ใช้ในการวัดคุณภาพอากาศ ด้านล่างนี้คือตัวอย่างจากรายงานล่าสุด:

เมืองที่มีมลพิษน้อยที่สุดได้แก่

1. ซูริค ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
2. เพิร์ธ ประเทศออสเตรเลีย
3. ริชาร์ดส์เบย์ แอฟริกาใต้
4. โฮบาร์ต ประเทศออสเตรเลีย
5. เรคยาวิก ประเทศไอซ์แลนด์

เมืองที่มีมลพิษมากที่สุดได้แก่

1. ลาฮอร์ ประเทศปากีสถาน
2. โฮตัน ประเทศจีน
3. ภิวาดี ประเทศอินเดีย
4. เดลี ประเทศอินเดีย
5. เปชวาร์ ประเทศปากีสถาน

คุณภาพอากาศอาจเปลี่ยนแปลงไปตามระยะเวลา และอาจแตกต่างกันไปตามปัจจัยต่างๆ เช่น รูปแบบของสภาพอากาศ และกิจกรรมทางอุตสาหกรรม ดังนั้น การจัดอันดับในรายการนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้เมื่อเวลาผ่านไป

นอกจากนี้ ยังมีเมืองอีกหลายแห่งที่ไม่มีโปรแกรมตรวจสอบคุณภาพอากาศที่สมบูรณ์ การประเมินระดับมลพิษในเมืองดังกล่าวจึงอาจทำได้ยาก

รูปแบบตามฤดูกาลของ PM2.5

ระดับของ PM2.5 มีรูปแบบตามฤดูกาลซึ่งเกิดจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น สภาพอากาศ กิจกรรมของมนุษย์ และที่ตั้งทางภูมิศาสตร์

ในบางภูมิภาค ระดับ PM2.5 มักจะเพิ่มขึ้นในช่วงฤดูหนาวเนื่องจากหลายสาเหตุ เช่น ความต้องการใช้เครื่องทำความร้อนที่สูงขึ้น และสภาพอากาศนิ่งซึ่งจะกักเก็บมลพิษเอาไว้ในระดับที่ใกล้กับพื้นดิน ยกตัวอย่างเช่น ทางตอนเหนือของจีน ระดับ PM2.5 มักจะสูงขึ้นในฤดูหนาว5เนื่องจากมีการใช้ถ่านมากขึ้นเพื่อทำความร้อน และสภาพอากาศที่ทำให้คุณภาพอากาศแย่ลง

ในภูมิภาคอื่นๆ ระดับของ PM2.5 อาจเพิ่มขึ้นในฤดูร้อนเนื่องจากปัจจัยต่างๆ6 เช่น การจราจรที่คับคั่งขึ้นและกิจกรรมทางอุตสาหกรรม7 และนี่เป็นสารมลพิษทุติยภูมิที่อาจทำให้ปัญหาในระบบทางเดินหายใจแย่ลง ตัวอย่างเช่น ในพื้นที่เขตเมืองหลายแห่ง ระดับโอโซนในฤดูร้อนอาจสูงกว่าในฤดูหนาวเนื่องจากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการจราจรที่หนาแน่นขึ้นหรือความรุนแรงของแสงแดด

PM2.5 ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์อย่างไร

ผู้หญิงที่กำลังป่วยยืนอยู่ด้านหน้าเมืองที่เต็มไปด้วยมลพิษและมีกรอบแสดงสาเหตุของมลพิษ

PM2.5 อาจส่งผลเสียร้ายแรงต่อสุขภาพของมนุษย์ เมื่อหายใจเข้าไป อนุภาคขนาดเล็กเหล่านี้จะแทรกซึมลึกลงไปในปอด และสามารถเข้าสู่กระแสเลือดได้ ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพมากมาย

การสัมผัสกับ PM2.5 มีส่วนทำให้เกิดปัญหาต่อระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงโรคหอบหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และมะเร็งปอด8 นอกจากนี้ การรับสัมผัส PM2.5 ยังทำให้โรคที่เป็นอยู่มีอาการแย่ลงด้วย เช่น โรคภูมิแพ้ และอาจทำให้เสียชีวิตก่อนวัยอันควรได้ในบางกรณี

ผลกระทบต่อสุขภาพของ PM2.5 จะรุนแรงกว่าสำหรับประชากรในกลุ่มอ่อนแอ เช่น เด็กๆ ผู้สูงอายุ และผู้ที่ป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจหรือโรคหัวใจ และหลอดเลือดอยู่ก่อนแล้ว

ระดับ PM2.5 ที่บ่งชี้ว่าอากาศมีคุณภาพต่ำ

ระดับ PM2.5 ที่สูงกว่า 55 μg/m3 ที่บ่งชี้ว่าอากาศมีคุณภาพต่ำ9

ดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) ใช้ระดับจาก 0 ถึง 500 ในการวัดคุณภาพอากาศ และตัวเลขที่สูงขึ้นหมายถึงคุณภาพอากาศที่แย่ลง

เมื่อระดับความเข้มข้นของ PM2.5 สูงกว่า 55 μg/m3 ค่า AQI มักจะอยู่ในช่วง 151 ถึง 200 ซึ่งถือว่า "ไม่ดีต่อสุขภาพ" สำหรับประชากรในกลุ่มอ่อนแอ เช่น เด็กๆ ผู้สูงอายุ และผู้ที่ป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจหรือโรคหัวใจ และหลอดเลือดอยู่ก่อนแล้ว

หากระดับความเข้มข้นของ PM2.5 สูงกว่านี้ ค่า AQI อาจอยู่ในช่วง 201 ถึง 300 หรืออาจสูงกว่า 300 ซึ่งจะถือว่า "ไม่ดีต่อสุขภาพ" หรือ "เป็นอันตราย" สำหรับทุกคน

มาตรฐาน และแนวทางด้านคุณภาพอากาศอาจแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศและภูมิภาค และองค์กรต่างๆ อาจกำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำสำหรับคุณภาพอากาศที่ "ไม่ดี" ไว้แตกต่างกันเล็กน้อย

คุณภาพอากาศที่ไม่ดีทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ

คุณภาพอากาศที่ไม่ดีอาจส่งผลเสียร้ายแรงต่อสุขภาพของมนุษย์

ดังที่ได้อธิบายไปแล้วว่า การสัมผัสกับมลพิษทางอากาศ เช่น PM2.5 ในระดับสูงอาจทำให้เกิดปัญหามากมายต่อระบบทางเดินหายใจรวมถึงระบบหัวใจ และหลอดเลือด ทั้งยังทำให้โรคที่เป็นอยู่มีอาการแย่ลง และในบางกรณีก็อาจทำให้เสียชีวิตก่อนวัยอันควรได้

ผลกระทบต่อสุขภาพของมลพิษทางอากาศจะรุนแรงกว่าในประชากรกลุ่มอ่อนแอ เช่น เด็กๆ ที่ได้รับมลพิษทางอากาศในระดับสูงอาจมีปอดที่พัฒนาได้ช้า และมีความเสี่ยงมากขึ้นต่อการเป็นโรคหอบหืดในภายหลัง ในทำนองเดียวกัน ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจหรือโรคหัวใจ และหลอดเลือดอยู่ก่อนแล้วอาจมีอาการแย่ลง หรือมีโอกาสเกิดหัวใจวายหรือสมองขาดเลือดมากขึ้น

การสัมผัสในระยะสั้น: ผลกระทบต่อสุขภาพ และความเจ็บป่วย

การสัมผัสกับคุณภาพอากาศที่ย่ำแย่รวมถึง PM2.5 ระดับสูงเป็นระยะเวลาสั้นๆ อาจทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ และความเจ็บป่วยมากมาย ซึ่งได้แก่

1. อาการในระบบทางเดินหายใจ
2. อาการของโรคหอบหืดและ COPD ที่แย่ลง
3. ผลกระทบต่อหัวใจ และหลอดเลือด
4. สมรรถภาพของปอดลดลง
5. อ่อนเพลีย และปวดศีรษะ

การสัมผัสในระยะยาว: ผลกระทบต่อสุขภาพ และความเจ็บป่วย

การสัมผัสกับคุณภาพอากาศที่ย่ำแย่รวมถึง PM2.5 ระดับสูงในระยะยาวอาจทำให้เกิดโรคดังต่อไปนี้

1. โรคหัวใจและหลอดเลือด
2. โรคในระบบทางเดินหายใจ
3. โรคมะเร็ง
4. ภาวะสมองเสื่อม
5. เสียชีวิตก่อนวัยอันควร

จะสามารถลดระดับ PM2.5 ได้อย่างไร

การลดระดับ PM2.5 จำเป็นต้องอาศัยความพยายามจากทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของรัฐบาล องค์กรต่างๆ หรือประชาชนทุกคน แต่ละฝ่ายล้วนมีบทบาทสำคัญในการช่วยลดระดับของ PM2.5 ในภาพรวม

นโยบายรัฐในการจัดการกับมลพิษทางอากาศ

อำนาจที่อยู่ในมือของผู้กำหนดนโยบายสามารถสร้างผลกระทบต่อโลกได้อย่างมาก ดังนั้น จึงมีการนำนโยบายต่างๆ มาใช้เพื่อลดระดับ PM2.5 ซึ่งเป็นอนุภาคขนาดเล็กในอากาศที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ การดำเนินการที่ได้ริเริ่มไปแล้วได้แก่

1. ระเบียบข้อบังคับด้านการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคอุตสาหกรรม
2. การจำกัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการขนส่ง
3. การส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน
4. การอนุรักษ์ และฟื้นฟูผืนป่า
5. โครงการรณรงค์เพื่อสร้างจิตสำนึกต่อสาธารณะ

อย่างไรก็ตาม นโยบายเพียงอย่างเดียวคงไม่สามารถจัดการกับปัญหามลพิษทางอากาศได้ แต่ต้องอาศัยความพยายามจากทุกคนด้วย

เราสามารถทำอะไรได้บ้างเพื่อให้คุณภาพอากาศในบ้านดีขึ้น

มลพิษทางอากาศสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในบ้าน และนอกบ้าน PM2.5 จากข้างนอกสามารถเล็ดรอดเข้ามาในบ้านของคุณได้อย่างง่ายดาย และทำให้อากาศในบ้านที่คุณหายใจเข้าไปมีมลพิษด้วย เพื่อจัดการกับปัญหา ขั้นตอนปฏิบัติที่คุณสามารถทำได้เพื่อลดการสัมผัสกับ PM2.5 และช่วยให้คุณภาพอากาศดีขึ้นมีดังนี้:

1. ใช้เครื่องฟอกอากาศ
2. ปิดหน้าต่างไว้
3. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
4. ใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจากธรรมชาติ
5. หลีกเลี่ยงการจุดเทียน และธูป
6. ตรวจสอบคุณภาพอากาศ

เมื่อปฏิบัติตามขั้นตอนเหล่านี้ คุณจะสามารถปกป้องสุขภาพของตนเองได้ และมีส่วนช่วยในการพัฒนาคุณภาพอากาศในชุมชนของคุณ

ผู้หญิงกำลังนั่งพักผ่อนบนเก้าอี้ในห้องที่มีต้นไม้สีเขียวและมีเครื่องปรับอากาศ Panasonic อยู่ใกล้ๆ

nanoe™ X สามารถสลายสารอันตรายที่พบใน PM2.5 ได้10

nanoe™ X เป็นเทคโนโลยีที่คิดค้นโดย พานาโซนิค ซึ่งออกแบบมาเพื่อยับยั้งสารอันตรายและฟอกอากาศ โดย nanoe™ X จะใช้โมเลกุลน้ำในอากาศในการสร้างอนุมูลไฮดรอกซิล (OH) ที่สามารถทำปฏิกิริยาได้ดี และยับยั้งสารมลพิษ และสารก่อภูมิแพ้บางชนิด รวมถึงสลายอนุภาคในอากาศอย่าง PM2.5 ได้ เมื่อใช้ nanoe™ X ผลการทดสอบแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพมากกว่า 99% ในการยับยั้งกรดเบนโซอิกและเฮกซาเดคเคน ซึ่งเป็นสารอันตรายสองชนิดที่พบใน PM2.5

อย่างไรก็ตาม ควรทราบด้วยว่าประสิทธิภาพของเทคโนโลยี nanoe™ X อาจแตกต่างกันไปตามปัจจัยต่างๆ เช่น ระดับของมลพิษทางอากาศในสิ่งแวดล้อม ขนาดของห้องที่ใช้ และการใช้งาน เทคโนโลยี nanoe™ X อาจไม่สามารถกำจัดมลพิษได้ทุกชนิด และไม่ควรอาศัยเทคโนโลยีนี้เพียงอย่างเดียวเท่านั้นในการทำความสะอาดอากาศให้บริสุทธิ์

แม้ในภาพรวม เทคโนโลยี nanoe™ X จะเป็นประโยชน์หากนำมาใช้เสริมกับระบบฟอกอากาศ แต่ก็ควรใช้ร่วมกับการกรองวิธีอื่นๆ ด้วย เช่น ฟิลเตอร์ HEPA หรือถ่านคาร์บอนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เรียนรู้เพิ่มเติม ที่นี่

ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

เครื่องปรับอากาศแบบติดผนัง

เครื่องปรับอากาศชนิดคาสเซ็ท 4 ทิศทาง

เครื่องปรับอากาศชนิดฝังเพดาน

เพดาน
 

เครื่องปรับอากาศ Ducted แบบปรับได้

ต่อท่อแรงดันสูง

สลิม ต่อท่อแรงดันต่ำ

ตั้งพื้น

เครื่องฟอกอากาศ

ภาพผลิตภัณฑ์เครื่องฟอกอากาศ

> เครื่องฟอกอากาศ

air-e

ที่วางแก้ว

คลิกที่นี่เพื่อติดต่อเราเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่มีเทคโนโลยี nanoe™ X