//store.apac.panasonic.com/th/dw/shop/v1{0}?store_view_cd=th ฿ #,###.00 020 false categorybrowsepage,comparepage,wishlistpage,learncontentpage true news_article false 010 //panasonic-thailand.ibrandiq.com/th/Widgets/Fluid/{0} //panasonic-thailand.ibrandiq.com/Products/MultipleInStock/Fluid/{0}

เยาวชนฉลาดคิด เรียนรู้เทคนิคสร้างสรรค์คลิปให้ปัง

        เข้มข้นขึ้นทุกขณะสำหรับโครงการ “สร้างสรรค์ ฉลาดคิด ผลิตข่าวกับพานาโซนิค ประจำปี 2560” (Panasonic Kids Witness News 2017) ที่เปิดโอกาสให้เยาวชนระดับประถมและมัธยมศึกษา อายุระหว่าง 10-18 ปี ได้แสดงความสามารถในการผลิตคลิปวิดีโอสร้างสรรค์ที่สะท้อนประเด็นต่างๆ ทางสังคมผ่านมุมมองของคนรุ่นใหม่ โดยตั้งแต่เปิดรับสมัคร มีเยาวชนจากโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศส่งผลงานเข้าร่วมประกวดมากถึง 82 ทีม คณะกรรมการได้พิจารณาคัดเลือกทีมที่มีผลงานโดดเด่น 16 ทีม เข้าค่ายพัฒนาผลงาน (Workshop) ก่อนนำความรู้ที่ได้ไปผลิตชิ้นงานสำหรับการแข่งขันในรอบที่ 2 ต่อไป
        ศิริรัตน์ ยงค์เจริญชัย
ผู้จัดการทั่วไป บริษัท พานาโซนิค แมเนจเม้นท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า กลุ่มบริษัทพานาโซนิค ในประเทศไทย ดำเนินโครงการต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 14 เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนได้แสดงออกซึ่งความคิดสร้างสรรค์ และความสามารถของตัวเอง เป็นการสะท้อนให้ผู้ใหญ่รู้ว่าพวกเขามีมุมมองต่อเรื่องต่างๆ ในสังคมอย่างไร สำหรับผลงานที่ส่งเข้าประกวดในปีนี้จะต้องนำเสนอภายใต้แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม การสื่อสาร หรือกีฬา ซึ่งน้องๆ จะถ่ายทอดออกมาให้รูปแบบใดก็ได้ ผู้ชนะการแข่งขันในระดับประเทศ จะได้เป็นตัวแทนเยาวชนไทยไปแสดงศักยภาพในเวทีระดับนานาชาติต่อไป
         สำหรับบรรยากาศของกิจกรรมตลอดทั้ง 3 วัน เต็มไปด้วยความสนุกสนาน เด็กๆ จากต่างโรงเรียนได้ทำความรู้จักกับเพื่อนใหม่ พร้อมกับเรียนรู้ทักษะต่างๆ ในการผลิตคลิปวิดีโอ เริ่มตั้งแต่การคิดประเด็นเพื่อสื่อสารให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย การเล่าเรื่องให้น่าสนใจ รวมไปถึงเทคนิคการใช้กล้อง โดยนอกจากจะได้ความรู้ด้านทฤษฎีจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิในสาขานิเทศศาสตร์ และผู้เชี่ยวชาญในแวดวงสื่อสารมวลชนแล้ว ยังได้ไปศึกษาดูงานกระบวนการถ่ายทำรายการข่าว ณ สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 รวมถึงได้ทดลองใช้กล้อง Panasonic Lumix G Series ซึ่งถ่ายได้ทั้งภาพนิ่งและวิดีโอ ในการสร้างสรรค์ผลงานจริงๆ ด้วย
        ผศ.ดร.ลักษณา คล้ายแก้ว
ผู้อำนวยการหลักสูตรนิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต และอาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยุโทรทัศน์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต หนึ่งในคณะกรรมการที่มาให้ความรู้แก่เยาวชน แนะนำว่า การทำสื่อไม่ว่าประเภทใดก็ตาม ต้องคิดพิจารณาด้วยว่าในเรื่องราวนั้นๆ เราจะหยิบแง่มุมใดมาเล่า และจะถ่ายทอดอย่างไรให้น่าสนใจ จุดหนึ่งที่สำคัญคือการสร้างจังหวะในการเล่าเรื่อง เทคนิคคือต้องมีจุดเริ่มต้นที่ดึงดูดความสนใจ ระหว่างทางต้องเห็นพัฒนาการของเรื่องราว ที่สำคัญคือจะจบเรื่องอย่างไรให้คนดูเกิดความจับใจและจดจำ
        ด้าน ปรัชญา ปิ่นแก้ว ผู้กำกับชื่อดัง เผยเคล็ดลับการเป็นนักเล่าเรื่องว่า นักเล่าเรื่องที่ดี ไม่ได้อยู่ที่สาระของเรื่องที่เขาเล่า แต่นักเล่าเรื่องที่ดี คือคนที่ทำให้คนดูรู้สึก “สนุก” ได้ ไม่ว่าเรื่องนั้นจะมีสาระหรือไม่ บางเรื่องมีสาระมากแต่เล่าไม่สนุก คนก็ไม่สนใจ ทำให้การสื่อสารไม่ได้ผล คำว่าสนุกในที่นี้ไม่ได้หมายความแค่เสียงหัวเราะเท่านั้น แต่ความสนุกคือ “ทุกอารมณ์” หนังที่สนุกคือหนังที่ทำให้คนดูเกิดอารมณ์คล้อยตามได้ ไม่ว่าเรื่องนั้นจะเป็นเรื่องตื่นเต้น ตลก หรือแม้กระทั่งเรื่องเศร้า
        อีกหนึ่งผู้กำกับมากฝีมือ ตั้ม-พัฒนะ จิรวงศ์ เล่าถึงพัฒนาการของผลงานที่ส่งเข้าประกวดในแต่ละปีว่า พัฒนาดีขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะเรื่องเทคนิคการถ่ายภาพ อย่างไรก็ตาม การเล่าเรื่องยังติดอยู่กับกรอบเดิมๆ มากเกินไป จึงอยากแนะนำให้น้องๆ ลองค้นหาข้อมูลจากช่องทางอื่นๆ นอกเหนือจากอินเตอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นข่าวเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน หรือข้อมูลจากการสัมภาษณ์บุคคลจริงๆ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะทำให้หนังมีอารมณ์ความรู้สึกมากขึ้น
        ฟังเสียงสะท้อนจากเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการ น้องไกด์-ด.ช.โภคิน ตุลาประพฤทธิ์ นักเรียนชั้น ม.3 ร.ร.สวนกุหลาบวิทยาลัย เล่าว่า สมัครเข้าร่วมโครงการเพราะอยากเปิดประสบการณ์เกี่ยวกับการผลิตสื่อ และต้องการท้าทายความสามารถของตัวเอง จะได้รู้ว่าฝีมือตัวเองอยู่ในระดับไหนเมื่อเทียบกับคนอื่นๆ อยากบอกเพื่อนๆ ที่สนใจงานด้านนี้แต่ยังไม่มีความกล้าว่า อย่ากลัวที่จะเริ่มลงมือทำ และเมื่อทำแล้วก็ต้องพยายายาม อย่าท้อแท้ ทุกอย่างมีอุปสรรคอยู่แล้ว แต่ถ้าเราพยายามก็จะผ่านมันไปได้
        ด้านรุ่นพี่ที่มาไกลจาก จ.ยะลา อับดุลการีม หะมะ หรือ การีม นักเรียนชั้น ม.4 ร.ร.ธรรมวิทยามูลนิธิ เปิดใจว่า ในต่างจังหวัดไม่มีกิจกรรมลักษณะนี้มากนัก เมื่อทราบข่าวว่าผู้เข้าร่วมโครงการจะได้ไปดูกระบวนการผลิตรายการโทรทัศน์จริงๆ ก็ตัดสินใจมาเข้าร่วมทันทีแล้วก็ไม่ผิดหวัง เพราะได้เรียนรู้ทั้งการใช้กล้อง การตัดต่อวิดีโอ ได้เห็นการถ่ายทอดสดและวิธีการพูดของนักข่าว ซึ่งส่วนตัวอยากเป็นผู้ประกาศข่าวอยู่แล้วเพราะชอบพูด ชอบให้คนสนใจ ความรู้ที่ได้จะนำไปพัฒนาผลงาน เพื่อให้เพื่อนๆ เห็นว่า โรงเรียนของเราก็มีความสามารถทำวิดีโอดีๆ ได้ ไม่น้อยหน้าที่อื่นเหมือนกัน
        เห็นความพยายามและตั้งใจของน้องๆ ขนาดนี้ ร่วมติดตามกันต่อไปว่าเด็กๆ จะถ่ายทอดเรื่องราวของพวกเขาออกมาได้สนใจเพียงใด และใครจะได้เป็นตัวแทนเยาวชนไทยไปแสดงศักยภาพในเวทีโลก

เยาวชนฉลาดคิด เรียนรู้เทคนิคสร้างสรรค์คลิปให้ปัง
เยาวชนฉลาดคิด เรียนรู้เทคนิคสร้างสรรค์คลิปให้ปัง
เยาวชนฉลาดคิด เรียนรู้เทคนิคสร้างสรรค์คลิปให้ปัง
เยาวชนฉลาดคิด เรียนรู้เทคนิคสร้างสรรค์คลิปให้ปัง
เยาวชนฉลาดคิด เรียนรู้เทคนิคสร้างสรรค์คลิปให้ปัง
เยาวชนฉลาดคิด เรียนรู้เทคนิคสร้างสรรค์คลิปให้ปัง
เยาวชนฉลาดคิด เรียนรู้เทคนิคสร้างสรรค์คลิปให้ปัง
เยาวชนฉลาดคิด เรียนรู้เทคนิคสร้างสรรค์คลิปให้ปัง
เยาวชนฉลาดคิด เรียนรู้เทคนิคสร้างสรรค์คลิปให้ปัง
เยาวชนฉลาดคิด เรียนรู้เทคนิคสร้างสรรค์คลิปให้ปัง
เยาวชนฉลาดคิด เรียนรู้เทคนิคสร้างสรรค์คลิปให้ปัง
เยาวชนฉลาดคิด เรียนรู้เทคนิคสร้างสรรค์คลิปให้ปัง
เยาวชนฉลาดคิด เรียนรู้เทคนิคสร้างสรรค์คลิปให้ปัง
เยาวชนฉลาดคิด เรียนรู้เทคนิคสร้างสรรค์คลิปให้ปัง
เยาวชนฉลาดคิด เรียนรู้เทคนิคสร้างสรรค์คลิปให้ปัง
เยาวชนฉลาดคิด เรียนรู้เทคนิคสร้างสรรค์คลิปให้ปัง
เยาวชนฉลาดคิด เรียนรู้เทคนิคสร้างสรรค์คลิปให้ปัง
เยาวชนฉลาดคิด เรียนรู้เทคนิคสร้างสรรค์คลิปให้ปัง
เยาวชนฉลาดคิด เรียนรู้เทคนิคสร้างสรรค์คลิปให้ปัง