Pursuit of Thinness

ทองคำเปลวถูกใช้ในงานศิลปะ หัตถกรรม และสถาปัตยกรรมทั่วโลก ในส่วนทองคำเปลวที่ผลิตในประเทศญี่ปุ่น ได้รับการยกย่องอย่างมากในเรื่องความบางเฉียบและความแวววาว ทองคำเปลวคุณภาพสูงนี้เกิดขึ้นจากความชำนาญทางหัตถกรรมและความมุมานะซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ฝังรากอยู่ในช่างฝีมือชาวญี่ปุ่น

แสวงหาที่สุดแห่งความบาง

วัด Kinkakuji หรือวัดทองเคลือบด้วยทองคำเปลวทั้งหมด

ทองคำเปลวมีประวัติอันเก่าแก่ยาวนาน กล่าวกันว่าถูกผลิตขึ้นครั้งแรกในประเทศอียิปต์ช่วงก่อนคริสตกาล จากนั้นจึงได้แพร่ขยายไปทั่วโลก โดยมีบันทึกว่าทองคำเปลวถูกนำมาใช้สร้างพระพุทธรูปในประเทศญี่ปุ่นเมื่อราว 1,200 ปีมาแล้ว ทองคำเปลวที่ผลิตในประเทศญี่ปุ่นมีความหนาประมาณ 1/10,000 มม.

ซึ่งเป็นขีดความบางที่ยังคงรูปร่างของทองคำเปลวไว้ได้ ทองคำเปลวถูกยืดโดยการตีประมาณ 50,000 ครั้ง ซึ่งทำให้ทองคำ 2 กรัมผลิตออกมาเป็นทองคำเปลวได้ขนาดประมาณ 1.65 ตารางเมตร ทองคำเปลวที่ผลิตในต่างประเทศส่วนใหญ่หนากว่าที่ผลิตในประเทศญี่ปุ่น 10 - 20 เปอร์เซนต์

ในบางประเทศไม่ได้ผลิตทองคำเปลวที่มีคุณภาพ ทำให้บางครั้งทองคำเปลวถูกขายไปแบบทั้งที่มีรูและมีความหนาผิดปกติ

จิตวิญญาณของช่างฝีมือชาวญี่ปุ่น

บางคนอาจตั้งคำถามว่า เหตุใดจึงต้องทุ่มเทอย่างมากในการผลิตทองคำเปลวให้เป็นแผ่นบางเฉียบ เหตุผลคือ ยิ่งทองคำเปลวบางลงเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีความแวววาวมากขึ้นเท่านั้น ทองคำเปลวแผ่นหนาเช่นที่ผลิตในต่างประเทศจะมีความหมอง

แต่เพื่อให้ได้มาซึ่งความแวววาวเหลืองอร่ามอันเป็นความงดงามของทองคำโดยแท้ ช่างตีทองจึงมุ่งมั่นให้ได้ความบางอย่างถึงที่สุด นอกจากนี้ทองคำเปลวแผ่นบางยังสามารถยึดติดกับวัตถุที่มีรายละเอียดได้แนบแน่นยิ่งกว่า

กล่องเหล่านี้ประดับด้วยทองคำเปลวอย่างสวยงาม

ทองคำเปลวแผ่นบางที่มีความอ่อนตัวจึงแสดงให้เห็นรายละเอียดของงานหัตถกรรมและประติมากรรมอันซับซ้อนของญี่ปุ่นได้อย่างชัดเจน ทองคำเปลวที่บางที่สุดกำเนิดขึ้นเพราะช่างฝีมือชาวญี่ปุ่นที่ปฏิเสธที่จะมองข้ามในเรื่องความปราณีต และความงาม

ช่างฝีมือเหล่านี้มีความสุขกับการได้ขัดเกลาฝีมือตนเองให้เยี่ยมยอดที่สุดและค้นพบเทคนิคใหม่ที่ดีกว่า แน่นอนว่าเป็นเพราะ “จิตวิญญาณแห่งหัตถศิลป์” นี้เอง ที่ทำให้เกิดทองคำเปลวที่มีคุณภาพดีที่สุดในโลก

ทองคำเปลวที่สะท้อนถึงวัฒนธรรมญี่ปุ่น

ทองคำเปลวที่ผลิตด้วยช่างฝีมือของญี่ปุ่นถูกนำมาใช้ในสถาปัตยกรรมและหัตถกรรมที่เป็นสัญลักษณ์ของประเทศญี่ปุ่น คิงคะคุจิ ซึ่งเป็นวัดที่ใช้ทองคำเปลว 200,000 แผ่น ได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของประเทศญี่ปุ่นและเมืองเกียวโต ซึ่งในแต่ละปีจะมีผู้คนมากมายจากทั้งในประเทศและนอกประเทศมาเยี่ยมเยือน

ความแวววาวของทองคำเปลวเห็นได้จากงานหัตถกรรมเครื่องเงิน ซึ่งเป็นหัตถกรรมที่มีมาช้านานและเป็นที่หวงแหนของชาวญี่ปุ่นมาแต่โบราณกาล ทองคำเปลวจึงถือกำเนิดขึ้นด้วยประการฉะนี้ และยังคงพัฒนาไปพร้อมกับวัฒนธรรมของญี่ปุ่น ความ เป็นประกายของทองคำเปลวยังคงแสดงให้เห็นถึงความงดงามในแบบฉบับของญี่ปุ่นสืบไป

วัฒนธรรมญี่ปุ่นมักเกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆในระดับที่ละเอียดที่สุด ท่านเชื่อหรือไม่ว่าสิ่งต่างๆเหล่านี้ถูกนำไปส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์ด้วย