เรียนรู้พื้นฐานที่จำเป็นในการถ่ายวิดีโอและวิธีการนำมาใช้จริงกับ LUMIX
ข้อมูลเบื้องต้นของกล้อง LUMIX S1H
แนะนำกล้อง LUMIX S1H
พบกับกล้อง Panasonic LUMIX S1H และฟัง Jacob James แอมบาสเดอร์ของ LUMIX อธิบายถึงภาพรวมสั้นๆ ของกล้องในตระกูล S-Series รุ่นนี้ ซึ่งเป็นรุ่นที่เหมาะที่สุดสำหรับการถ่ายวิดีโอ กล้อง S1H มีเซ็นเซอร์แบบฟูลเฟรมที่มีความละเอียดสูงถึง 6K และคุณสมบัติที่เพียบพร้อมเหมาะสำหรับช่างภาพภาพยนตร์ระดับมืออาชีพและการถ่ายภาพยนตร์ Anamorphic ให้ไดนามิกเรนจ์มากกว่า 14 สต็อปใน V-Log และช่วงสี Gamut กว้างพิเศษซึ่งรวมถึง BT2020 และ HLG (Rec.2100) เพื่อความยืดหยุ่นสูงสุดในการตัดต่อ
ความยาว: 04:11
การขยายขอบเขตและความสามารถในการใช้งาน
Jacob James แอมบาสเดอร์ของ LUMIX จะให้คุณเห็นตัวเลือกในการปรับแต่งกล้อง S1H เช่น เมนูและปุ่มฟังก์ชั่นต่างๆ และเขายังแนะนำให้คุณได้รู้จักกับ L-Mount ที่มีระยะจากหน้าแปลนด้านหลังที่สั้นเพื่อการเชื่อมต่อที่ง่ายดายเข้ากับเลนส์ทุกชนิด และสุดท้าย Jacob จะอธิบายถึงคุณสมบัติที่ช่วยให้คุณใช้กล้องได้อย่างไร้กังวล เช่น ตัวล็อกแบตเตอรี่และระบบความปลอดภัย สกรูสำหรับขาตั้งกล้องที่มีสลักกั้นเพื่อป้องกันการหมุน รวมถึงคุณสมบัติต่างๆ ของซอฟต์แวร์ เช่น การบันทึกเป็นรอบเพื่อให้คุณไม่พลาดโอกาสใดๆ และการบันทึกไฟล์เป็นส่วนเพื่อป้องกันการสูญหายของข้อมูล
ความยาว: 03:42
การติดตั้งอุปกรณ์ถ่ายทำ
การถ่ายทำวิดีโอระดับมืออาชีพนั้นจำเป็นต้องใช้มากกว่าอุปกรณ์บันทึกภาพ ในวิดีโอนี้ Jacob James แอมบาสเดอร์ของ Panasonic LUMIX และผู้สร้างภาพยนตร์จะให้คำแนะนำเกี่ยวกับอุปกรณ์อื่นๆ แก่คุณด้วย เขาจะสาธิตวิธีการใส่กรงให้กับกล้อง LUMIX S1H วิธีการติดเลนส์ Schneider Xenon Cine ด้วย PL-mount และวิธีการติดตั้งชุด Follow Focus Unit นอกจากนี้ Jacob ยังแสดงวิธีการเชื่อมต่อหน้าจอแสดงผลภายนอกด้วย เช่น Atomos Ninja V Monitor Recorder โดยใช้สาย HDMI-ขาออกขนาดปกติของ S1H วิธีการต่อสายเคเบิลให้แน่นหนาไม่หลุดง่าย และวิธีการเชื่อมต่อไมโครโฟน Stereo XLR ให้ได้ถึงสองตัวด้วยอะแดปเตอร์ DMW-XLR1
ความยาว: 05:15
ตัวเลือกในการบันทึก
ตัวเลือกในการบันทึก ตอนที่หนึ่ง
LUMIX S1H ได้รับการออกแบบมาเพื่อผู้สร้างภาพยนตร์ระดับมืออาชีพ จึงมีตัวเลือกสำหรับการบันทึก การถอดรหัส และเฟรมเรทและความละเอียดที่หลากหลาย Jacob James แอมบาสเดอร์ของ LUMIX อธิบายถึงตัวเลือกต่างๆ ในการตั้งค่าการเก็บข้อมูล โหมดเซ็นเซอร์ ความละเอียด และอัตราส่วนภาพ แม้โหมดฟูลเฟรมจะมีตัวเลือกมากที่สุดในการปรับแต่งภาพและมีความละเอียดให้เลือกสูงสุดถึง 6K แต่ก็ยังมีโหมด Super35 ซึ่งให้ความละเอียดสูงถึง C4K ด้วยเช่นกัน ถอดรหัสได้ถึง 400 Mbit/s ทั้งแบบ All-intra หรือ Long-GOP
ความยาว: 04:34
ตัวเลือกในการบันทึก ตอนที่สอง
Jacob James แอมบาสเดอร์ของ LUMIX เล่าให้คุณฟังถึงการเลือกความละเอียดที่หลากหลายของกล้อง LUMIX ที่ใช้ในการถ่ายวิดีโอเป็นหลัก เขาพูดถึงระบบสี Colour Depth และอธิบายว่าการถ่ายภาพยนตร์แบบ 10 บิตช่วยให้คุณมีตัวเลือกที่มากกว่าได้อย่างไรในการปรับแต่งภาพและการแปลงฟุตเทจ V-Log เป็นโปรไฟล์เมื่อเทียบกับการถ่ายทำแบบ 8 บิต ปัจจัยสำคัญข้อที่สองในการวัดสี (Colorimetry) คือ ระบบการเก็บข้อมูลสีแบบ Chroma Subsampling ซึ่งเป็นตัวบอกว่ากล้องแปลสีออกมาอย่างไรในพิกเซล สำหรับไฟล์ขนาดเล็ก การบันทึกด้วย 4:2:0 นับเป็นตัวเลือกที่มีประโยชน์ แต่หากต้องการแสดงสีที่แม่นยำมากขึ้น 4:2:2 จะเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า และมีใช้ในกล้อง LUMIX S1H, S1 และ GH-Series (จาก GH4)
ความยาว: 03:21
ฟิลเตอร์โหมดการบันทึก
กล้อง LUMIX S1H ให้คุณสามารถบันทึกได้ทุกรูปแบบ: ตั้งแต่ HD/180fps ไปจนถึงความละเอียดสูงระดับ 6K เพื่อให้เห็นภาพรวมได้ง่าย กล้อง LUMIX S1H จึงมาพร้อมกับตัวเลือกสำหรับเมนูนี้โดยเฉพาะ ซึ่งก็คือ ฟิลเตอร์โหมดการบันทึก ซึ่งช่วยให้คุณสามารถเลือกการตั้งค่าต่างๆ ของโปรเจกต์ไว้ได้ล่วงหน้า เช่น เฟรมเรท ความละเอียด การถอดรหัส และ Hybrid Log Gamma และจากนั้นจะแสดงการตั้งค่าเหล่านี้เฉพาะในโหมดการบันทึกที่ตรงกันเท่านั้น นอกจากนี้ กล้อง LUMIX S1H ยังช่วยให้คุณบันทึกค่าที่เลือกได้ในเมนู Quick Access ซึ่งสามารถจัดเก็บการตั้งค่าได้ถึง 12 แบบ คุณจึงสามารถทำงานหลายโปรเจกต์ในเวลาเดียวกันได้ง่ายดายยิ่งขึ้น
ความยาว: 01:45
ขยายขอบเขตการตั้งค่า
ทำความเข้าใจเฟรมเรท
เฟรมเรทเป็นสิ่งสำคัญที่คุณควรเข้าใจตั้งแต่ก่อนเลือกการตั้งค่าโปรเจกต์ Steven Clarey แอมบาสเดอร์ของ LUMIX จะมาอธิบายความแตกต่างระหว่างการตั้งค่าแบบ PAL, NTSC และภาพยนตร์ นอกจากอัตราเฟรมแบบธรรมดา 24 เฟรมต่อวินาทีสำหรับภาพยนตร์หรือการตั้งค่าแบบ 50/60 เฮิร์ตซ์สำหรับการแพร่ภาพ กล้อง LUMIX S1H ยังมาพร้อมกับการตั้งค่าแบบ Variable Frame Rate และเฟรมเรท High Speed ความเร็วสูงสุดถึง 180 fps (ทั้งยังสามารถบันทึกเสียงและโฟกัสอัตโนมัติ) เพื่อให้คุณสามารถเพิ่มหรือลดความเร็วของลำดับเหตุการณ์ได้
ความยาว: 04:27
ทำความเข้าใจ Timecode
Timecode คือนาฬิกาที่เดินอยู่ในเฟรมภาพและมีอยู่ในกล้อง LUMIX S1H และ GH5S Timecode เป็นวิธีมาตรฐานของวงการภาพยนตร์ในการซิงค์ภาพจากแหล่งที่แตกต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น ในการถ่ายทำที่ใช้กล้องหลายตัวหรือกล้องเพียงตัวเดียวแต่ใช้เสียงที่ได้รับการบันทึกมาจากที่อื่น การซิงค์แบบอัตโนมัติโดยใช้ Timecode ที่ตรงกันจะช่วยประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย Nick Driftwood แอมบาสเดอร์ของ LUMIX จะอธิบายเกี่ยวกับการตั้งค่า Timecode แบบต่างๆ ที่มีอยู่และสาธิตวิธีการซิงค์ด้วย Timecode รวมถึงวิธีการนำอุปกรณ์ที่ไม่มี Timecode เข้ามาใช้ (เช่นกล้อง LUMIX S1 หรือ LUMIX GH5) ด้วยระบบจากภายนอกที่สามารถสร้าง Timecode ได้ เช่น Tentacle Sync-System
ความยาว: 06:04
ตัวเลือกในการบันทึกแบบภายนอก
บางครั้งคุณอาจต้องการบันทึกภาพไว้ภายนอกเพื่อสร้างไฟล์ที่สองไว้เป็นข้อมูลสำรองหรือเพื่อให้มีอีกไฟล์หนึ่งในความละเอียดที่แตกต่างกัน กล้อง LUMIX S1H ให้ตัวเลือกที่หลากหลายด้วยช่องสัญญาณ HDMI ขนาดปกติ Steven Clarey แอมบาสเดอร์ของ LUMIX จะพาคุณไปชมตัวเลือกเหล่านี้พร้อมทั้งอธิบายตัวอย่าง เช่น การถ่ายฟุตเทจ 4K/60p แบบ 10 บิตด้วยหน้าจอ Atomos Recorder Monitor ซึ่งช่วยให้คุณสามารถเข้าถึงการถอดรหัสในแบบอื่นได้ เช่น ProRes HQ
ความยาว: 02:58
ค่าแสง
มุมชัตเตอร์และความสว่าง
โดยปกติแล้ว ช่างภาพและผู้สร้างภาพยนตร์จะใช้วิธีที่ต่างกันในการระบุค่าแสงของภาพ คำศัพท์และวิธีการที่ใช้จึงไม่เหมือนกันด้วย Steven Clarey แอมบาสเดอร์ของ LUMIX จะอธิบายความแตกต่างของการตั้งค่าแสงในแต่ละวินาทีและระดับ รวมทั้งให้ข้อมูลเชิงลึกว่าความเร็วชัตเตอร์และเฟรมเรทมีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร และเขาจะแนะนำเครื่องมือ Synchro Scan ที่สามารถลดการกะพริบในการถ่ายฟุตเทจด้วย
ความยาว: 04:08
เครื่องมือปรับแสงสำหรับวิดีโอ
Jacob James แอมบาสเดอร์ของ LUMIX จะแนะนำให้คุณได้รู้จักกับเครื่องมือที่ใช้ในการปรับค่าแสงสำหรับกล้อง S1H พร้อมทั้งวิธีการตั้งค่า เครื่องมือเหล่านี้ได้แก่ Zebras ซึ่งช่วยให้คุณระบุพื้นที่ในภาพที่มืดหรือสว่างเกินไปได้และแสดงระดับความสว่างในรูปแบบ Waveform Monitor เพื่อให้คุณทราบถึงความสว่างโดยรวมและควบคุมระดับความสว่างได้ในระหว่างการถ่ายทำ ฟังก์ชั่นตัววัดการส่องสว่างเฉพาะจุดช่วยให้คุณมองเห็นค่าความส่องสว่างของพื้นที่ใดๆ ภายในภาพเพื่อให้สามารถปรับระดับแสงให้มีค่าสม่ำเสมอได้อย่างง่ายดายในสถานการณ์ที่มีสภาพแสงแตกต่างกัน หรือตั้งค่าแสงได้อย่างรวดเร็วเมื่อมีระดับแสงที่ใช้อ้างอิง เช่น แผ่นการ์ดสีเทา
ความยาว: 04:35
การควบคุม Master Pedestal
ในเมนูการตั้งค่าสำหรับภาพยนตร์ในกล้อง LUMIX S1H, GH5 และ GH5S คุณสามารถเลือกกำหนดจุดสีดำของกล้องด้วยตนเองได้ การควบคุมที่เรียกกันว่า Master Pedestal นี้จะทำให้เงาอ่อนลงหรือเข้มขึ้นได้ และยังมีประโยชน์เมื่อคุณต้องการซิงค์ภาพในการถ่ายทำที่ใช้กล้องหลายตัวหรือเมื่อต้องการดูการถ่ายทอดสดโดยไม่ต้องมีการปรับแต่งในภายหลัง
ความยาว: 01:28
ความไวแสง / HLG
Dual Native ISO (คืออะไร)
การมี Dual Native ISO หมายถึงการมีกล้องที่มีประสิทธิภาพดีขึ้นในสภาพแสงน้อย เพื่อให้มีความไวแสงที่สูงขึ้น เซ็นเซอร์ของกล้องจึงมีวงจรสวิตช์ความไวแสงสำหรับแต่ละพิกเซล อาจฟังดูซับซ้อน ลองฟังคำอธิบายจาก Steven Clarey แอมบาสเดอร์ของ LUMIX เกี่ยวกับ Dual Native ISO และดูว่ากล้อง LUMIX S1H และ GH5S มีความไวแสงที่สูงในสภาพแสงน้อยได้อย่างไร
ความยาว: 02:24
Hybrid Log Gamma คืออะไร
Nick Driftwood ผู้สร้างภาพยนตร์และแอมบาสเดอร์ของ LUMIX แสดงให้เราเห็นพร้อมอธิบายความแตกต่างระหว่าง SDR กับช่วง HDR และวิธีการที่ทำให้ได้สัญญาณคุณภาพสูงสุดสำหรับการแสดงภาพในแบบ SDR และแบบ HDR เรียนรู้เกี่ยวกับช่วงสี Gamut และดูว่า Rec.709 ของ SDR แตกต่างจาก BT2020/Rec.2020 อย่างไร BT2100 “Hybrid Log Gamma” (HLG) คืออะไร และทำอย่างไรเพื่อให้ได้ภาพ HDR คุณภาพสูงสุดจากกล้อง LUMIX เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ต่างๆ
ความยาว: 03:02
วิธีการใช้ HLG ในการถ่ายทำ
Nick Driftwood ผู้สร้างภาพยนตร์และแอมบาสเดอร์ของ LUMIX จะให้คำแนะนำแก่คุณในการตั้งค่าสำหรับการถ่ายทำโดยใช้ Hybrid Log Gamma (HLG) ในกล้อง LUMIX S1H เพื่อบันทึกช่วงไดนามิกเรนจ์กว้างสำหรับการแสดงฟุตเทจในแบบ HDR การถ่ายด้วย HLG เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับคุณเพื่อให้ได้คอนเทนต์ที่สามารถนำไปใช้ได้ทั้งในแบบ HDR และ SDR
ความยาว: 02:32
การถ่ายด้วย V-Log
V-Log และ V-Gamut
V-Log คือเส้นกราฟลอการิทึมซึ่งอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างค่าบิตของสีกับค่าแสง การใช้ V-Log จะช่วยคงไดนามิกเรนจ์และช่วงโทนสีจากสัญญาณแบบ RAW ไว้ได้มากที่สุด จึงเป็นฟอร์แมตที่เหมาะที่สุดในการเตรียมพร้อมก่อนขั้นตอนโพสต์โปรดักชั่น Jacob James แอมบาสเดอร์ของ LUMIX จะแนะนำรูปแบบนี้และพื้นที่สีที่เกี่ยวข้องซึ่งก็คือ V-Gamut Jacob จะให้คุณเห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่าง V-Gamut กับโปรไฟล์สีแบบอื่นๆ เช่น Rec.709, Rec.2020 หรือ Rec.2100 เพื่อให้คุณแน่ใจว่าสามารถใช้ได้กับฟอร์แมตของโปรเจกต์หรือพื้นที่สีที่คุณต้องการ
ความยาว: 02:25
ทำความเข้าใจ (V-Log และ) LUTs
V-Log เป็นฟอร์แมตที่จำเป็นต้องแปลผลและปรับแต่งเพื่อให้ได้สีที่ต้องการในขั้นตอนสุดท้าย ตารางค้นหา (LUTs) คือไฟล์ที่ช่วยแปลงภาพหนึ่งเป็นอีกภาพหนึ่งด้วยการใช้สูตรทางคณิตศาสตร์ ในขั้นตอนนี้ LUTs จะทำหน้าที่แปลงฟุตเทจ V-Log ให้อยู่ในแบบที่คุณต้องการสำหรับโปรเจกต์ ในวิดีโอนี้ Jacob James แอมบาสเดอร์ของ LUMIX จะอธิบายวิธีการดู การดัดแปลง และ LUTs แบบสร้างสรรค์รวมถึงวิธีการใช้งาน
ความยาว: 03:43
การปรับค่าแสง V-Log
การปรับค่าแสงให้กับฟุตเทจ V-Log มักเป็นเรื่องยาก Nick Driftwood แอมบาสเดอร์ของ LUMIX จะพาคุณไปรู้จักกับเครื่องมือของกล้อง LUMIX S1H ที่ช่วยให้คุณตั้งค่าระดับแสงใน V-Log ได้อย่างถูกต้อง เขาจะแสดงวิธีการใช้ V-Log View Assist ในกล้อง LUMIX เพื่อดูฟุตเทจ Log โดยใช้ LUT ให้คำแนะนำในการใช้ตัววัดการส่องสว่างเฉพาะจุดและหน้าจอแบบคลื่นเสียง Waveform Monitor กับแผ่นการ์ดสีเทา และตั้งค่าแสงให้กับกล้องของคุณได้อย่างถูกต้อง
ความยาว: 01:22
อื่นๆ
ตัวเลือกในการแสดงสถานะระหว่างบันทึก
กล้อง LUMIX S1H มีไฟแสดงสถานะทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ซึ่งสามารถเปิดหรือปิดแยกกันได้ นอกจากนี้ยังสามารถกำหนดกรอบสีแดงในช่องมองภาพ / หน้าจอเพื่อแสดงว่ากล้อง LUMIX S1H กำลังทำการบันทึกอยู่ได้ด้วย Steven Clarey แอมบาสเดอร์ของ LUMIX จะสาธิตให้คุณดูว่าจะตั้งค่าไฟแสดงสถานะและกรอบแสดงการบันทึกได้ตรงไหนในกล้อง
ความยาว: 01:33
ทำไมจึงควรถ่ายแบบ Anamorphic?
Jacob James และ Steven Clarey แอมบาสเดอร์ของ LUMIX อธิบายให้เราฟังถึงความแตกต่างระหว่างเลนส์ Spherical กับเลนส์ Anamorphic และการเลือกใช้เลนส์มีผลอย่างไรต่อลักษณะของฟุตเทจ พวกเขาจะให้คุณดูวิธีการตั้งค่าภายในกล้องสำหรับใช้กับเลนส์จอกว้าง วิธีการปรับระบบป้องกันภาพสั่นในการถ่ายด้วยจอกว้าง และวิธีการยกเลิกการบีบอัดของฟุตเทจในกล้องเพื่อให้คุณสามารถดูภาพรวมสุดท้ายของภาพที่ได้
ความยาว: 04:09
ตัวเลือกต่างๆ ของเลนส์ในการถ่ายวิดีโอ
Jacob James แอมบาสเดอร์ของ LUMIX จะแสดงให้คุณเห็นความแตกต่างระหว่างการใช้เลนส์โฟกัสอัตโนมัติและเลนส์เดี่ยวแบบแมนนวลสำหรับการถ่ายทำภาพยนตร์ Jacob จะพูดถึงเลนส์ต่างๆ และอธิบายว่าเมื่อใดควรใช้เลนส์แบบใด ตั้งแต่เลนส์ L-Mount ไปจนถึงวิธีการนำเลนส์ PL-Mount ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันแพร่หลายมาใช้กับกล้อง LUMIX S1H เพื่อรองรับการโฟกัสแบบแมนนวล กล้อง S1H จึงมีระบบช่วยโฟกัสแบบกำหนดเองได้ที่มีกำลังขยายสูงถึง 20 เท่า และตรวจดูเพื่อปรับโฟกัสได้ขณะบันทึกภาพ เลนส์แบบแมนนวลสามารถลงทะเบียนในกล้องได้และจะได้รับโปรไฟล์ระบบกันสั่นเป็นของตัวเอง
ความยาว: 06:29