สีสันแห่งโขน โดย Lumix S1R
โขน คือนาฎศิลป์เอกของไทย เป็นการแสดงชั้นครูที่มีเอกลักษณ์ ที่รวมศาสตร์และศิลป์หลากหลายแขนงเข้าไว้ด้วยกัน
ด้วยท่วงท่า เครื่องประดับกาย อาภรณ์ เครื่องศีรษะ เนื้อเรื่อง อันตระการตา
รวมถึงหัวโขน คือเสน่ห์อันฝังใจที่ทำให้ผมอยากมีโอกาสถ่ายภาพเป็นอันดับต้นๆ
โขนไม่ได้เป็นการแสดงที่จัดให้มีขึ้นบ่อยๆ โอกาสในการเข้าชมก็มีไม่มากนัก โอกาสในการถ่ายภาพยิ่งมีน้อยกว่าแน่นอน
แต่เมื่อโอกาสมาถึง การถ่ายภาพการแสดงโขนจึงนับเป็นหนึ่งในความท้าทายความสามารถของผมในฐานะช่างภาพ ด้วยเป็นการถ่ายในที่แสงน้อย และมีการแสดงซึ่งนักแสดงเคลื่อนไหวตลอดเวลา
ทั้งยังมีข้อจำกัดเรื่องมุมกล้อง ต้องไม่ไปยืนบดบังสายตาผู้ชมในโรงละคร
สำหรับครั้งนี้ผมจึงเลือกใช้กล้อง Lumix S1R และเลนส์ L-Mount Lumix S 24-105 / F4, Lumix S Pro 70-200 / F2.8, Lumix S Pro 50 / F1.4
เปิดภาพในโรงละครแห่งชาติ
ภาพแรกจะเป็นตัวละครไหนไม่ได้เลยนอกจากตัวเอกอย่างทศกัณฑ์เท่านั้น ผมจินตนาการภาพนี้ในหัวก่อนถ่าย ว่าต้องการให้เห็นแถวที่นั่งภายในโรงละครแห่งชาติลดหลั่นเป็นชั้นๆ เป็นฉากหลัง แสดงให้เห็นถึงความอลังการภายในโรงละคร และจัดแสงมาจากด้านหลังให้ตัวทศกัณฑ์ได้รับ Rim Light จัดตัวแบบให้อยู่กลางภาพ และวางมุมกล้องต่ำกว่าระยะสายตาส่งให้ทศกัณฑ์ดูโดดเด่น ยิ่งใหญ่น่าเกรงขาม
เลือก Profile ภาพในกล้องแบบ CineD เพื่อให้ได้โทนสีแบบภาพยนตร์
เลนส์ที่ใช้เป็นเลนส์ F4 ระยะชัดลึกด้านหลังแบบเป็นต้นไป เห็นถึงรายละเอียดโรงละคร แต่ยังมีความลุ่มลึกในภาพ เห็นระยะหน้าชัดหลังเบลอให้รายละเอียดเก้าอี้นั่งในโรงละคร
กล้อง Lumix S1R เลนส์ LUMIX S Pro 70-200 / F2.8 ISO 1600 ชัตเตอร์สปีด 1/160 วินาที f2.8
การถ่ายภาพบุคคล
สิ่งที่สำคัญเป็นอันดับต้นๆ คือโทนสีผิว ภาพเซตนี้ใช้กล้อง Lumix S1R ซึ่งทั้งกล้อง และเลนส์ของ Lumix สามารถถ่ายทอดสีผิวได้อย่างเป็นธรรมชาติมีชีวิตชีวา แม้กระทั่งสีผิวที่มีเมคอัพบนใบหน้า นับว่าเป็นจุดแข็งในกล้อง Lumix ทุกรุ่น
จุดเด่นส่วนหนึ่งในกล้อง Lumix S1R คือ ไม่มี low pass filter และมี Resolution สูงถึง 47.3 ล้านพิกเซล สามารถถ่ายทอด และขยายรายละเอียดได้คมชัดสูงสุด สังเกตได้จากรายละเอียดบนเครื่องประดับศีรษะ และลายปักบนชุดนักแสดง ดังนั้นภาพที่ได้จากกล้อง Lumix S1R จึงมีคุณภาพที่ดีเพียงพอต่อการนำไปใช้งานในทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็น โซเชียลมีเดีย หรือแม้กระทั่งการผลิตสื่อขนาดใหญ่อย่างป้ายโฆษณาบิลบอร์ด หรือโปสเตอร์ขนาดเท่าตัวคนจริง
นอกเหนือไปจากการเลือกใช้กล้องที่มีประสิทธิภาพที่ดีแล้ว เมื่อจำเป็นจะต้องถ่ายรูปในที่แสงน้อย อย่างเช่นทางเดินในโรงละครที่มีไฟส่องสว่างน้อยมาก ผมจึงเลือกใช้เลนส์ที่มีรูรับแสงกว้าง โดยครั้งนี้เลือกใช้เลนส์ Lumix S Pro 70-200 / f2.8 ที่ให้รูรับแสงสว่างที่สุดตลอดช่วง ทั้งยังมีความยืดหยุ่นของระยะการถ่ายภาพตั้งแต่มุมเทเลโฟโต้มาตราฐานจนถึงเทเลโฟโต้ระยะกลาง จึงมั่นใจได้ว่าตัวแบบจะได้รับแสงอย่างพอดี และสามารถเบลอฉากหลังที่อาจจะรกสายตาทิ้งไปอย่างง่ายดาย นอกจากนี้ตัวเลนส์เองยังมีระบบกันสั่นซึ่งเมื่อทำงานร่วมกับตัวกล้อง แม้ไม่ใช้ขาตั้งก็ยังสามารถถ่ายภาพได้ชัด ไม่สั่นไหว
เลนส์อีกตัวที่ผมเลือกใช้สำหรับงาน Portrait นอกจากเลนส์ Lumix S Pro 70-200 / f2.8 แล้ว คือ Lumix S Pro 50 / f1.4
เป็นเลนส์ที่เก็บภาพพรอตเทรทได้ดีมาก ใช้แล้วรู้สึกถึงพลังทำลายล้างอย่างชัดเจนแม้ถ่ายในที่แสงน้อยก็ให้ภาพสวยละมุนนุ่มนวล แต่น้ำหนักก็ไม่เบาเลยทีเดียว
กล้อง Lumix S1R เลนส์ LUMIX S Pro 70-200 / F2.8 ISO 1600 ชัตเตอร์สปีด 1/160 วินาที f2.8
ปกติแล้วเมื่อระยะเลนส์เปลี่ยนแปลงก็จะมีการสูญเสียของแสงที่เข้ามายังตัวเลนส์ แต่ Lumix S Pro 70-200 / f2.8 ถูกออกแบบมาให้มีความยืดหยุ่นในการซูมเปลี่ยนแปลงระยะภาพ แต่ไม่เสียประสิทธิภาพในการรับแสง ไม่ว่าจะซูมไปในช่วงไหน รูรับแสงที่กว้างที่สุดยังคงเป็น f2.8 คงเดิม
จะเห็นตัวอย่างที่ได้จากสามภาพนี้เปรียบเทียบกัน ไม่ว่าเราจะถ่ายภาพครึ่งตัว เต็มตัวโดยที่แบบคู่กัน หรือภาพเกือบทั้งตัว
ภาพที่แบบย่อ ถ่ายที่ 90 มม. ภาพครึ่งตัวคู่กันถ่ายภาพที่ 130 มม. ภาพเกือบเต็มตัวถ่ายที่ระยะ 122 มม.
ข้อสังเกต ปริมาณแสงที่ได้รับทั้งสามภาพ ตั้งค่าสปีดชัตเตอร์เท่ากัน ISO เท่ากัน แต่ได้รับค่าแสงต่างกันน้อยมากในทุกๆ ช่วงซูม โดยดูจากผลลัพธ์ของภาพ และกราฟฮิสโตแกรม
Lumix S Pro 70-200 / f2.8 เป็นเลนส์ที่ให้ภาพสดใส คมชัด และสีสันนุ่มนวลลุ่มลึก คอนทราสไม่จัดจ้านเกินไป ใช้ Profile Protrait ซึ่งในส่วนของสีผิว กล้องและเลนส์ยังคงถ่ายทอดได้ดีเช่นเคย
กล้อง Lumix S1R เลนส์ LUMIX S Pro 70-200/F2.8 ช่วงซูม 134 มม.
ISO1000 ชัตเตอร์สปีด 1/400 วินาที f3.2
กล้อง Lumix S1R เลนส์ LUMIX S Pro 70-200/F2.8 ช่วงซูม 132 มม.
ISO1000 ชัตเตอร์สปีด 1/400 วินาที f3.2
จังหวะจับภาพ
บทพิสูจน์ศักยภาพของกล้องและเลนส์ในสภาพแสงน้อย และมีแอคชั่นที่ต้องการความฉับไวในการทำงานของกล้อง
เมื่อผู้แสดงมีการขยับเคลื่อนที่ตลอดเวลา ตัวกล้องและเลนส์เองก็ตอบสนองได้ดีทันท่วงทีในทุกๆ จังหวะ
ให้แอคชั่นภาพสมบูรณ์เหมือนดั่งที่จินตนาการไว้
ส่วนความไวในการโฟกัส ตลอดจนการตอบสนองของเลนส์และกล้องสอดคล้องสัมพันธ์กันอย่างดี ส่งผลให้ไม่พลาดทุกจังหวะสำคัญ
บาลานซ์ของกล้องและเลนส์กระชับเข้ามือ กริปจับแน่นมั่นคงแม้ถ่ายภาพแนวตั้ง
กล้อง Lumix S1R เลนส์ LUMIX S Pro 70-200/F2.8 ช่วงซูม 118 มม. ISO1000 ชัตเตอร์สปีด 1/320 วินาที f3.2
" รายละเอียดเต็มทุกเม็ดสี พิกเซลอัดแน่นทุกตารางนิ้ว ”
น่าจะเป็นนิยามของเลนส์ และกล้องคู่นี้ ถ้าเป็นอาหารก็เรียกว่าแซ่บ โดยไม่ต้องใส่ชูรสใดๆ เพิ่มเติมเลย
การไล่โทนหนักเบาในส่วนมืดมาหาสว่างชัดเจนลื่นไหล น้ำหนักเบาของสีแดง เหลืองเขียว แม้กระทั่งสีทองก็ให้รายละเอียดสมกับเป็นกล้องถ่ายภาพฟูลเฟรมเรือธงของ Lumix
DC-S1RMGA-K
Full Frame S1R + Lens 24-105 mm / F4.0
S-E70200GC
Lumix S Pro 70-200 mm / F2.8
S-X50GC
Lumix S Pro 50 mm / F1.4
บทสรุป
กล้อง Lumix S1R ถือเป็นกล้องภาพนิ่งตัวท๊อป ด้วยสเปคที่จัดมาเต็ม และใช้งานได้อย่างทรงประสิทธิภาพจริงๆ ในสนามแห่งการถ่ายภาพ
เลนส์ที่มีไม่ว่าจะเป็นเลนส์คิท 24-105 หรือเลนส์เกรดโปรอย่าง Pro 70-200 / F2.8 สามารถซูมเข้าออกให้ความยืดหยุ่นไม่ว่าจะถ่ายเต็มตัว ถ่ายหลายๆ คนในฉาก หรือครึ่งตัวก็ได้ นอกจากนี้ยังมีเลนส์ฟิกซ์เพื่อการถ่ายพรอตเทรทโดยเฉพาะอย่าง Lumix S Pro 50 / F1.4 เลนส์สว่างที่สุดในซีรียส์ละลายฉากหลังให้ depth of field สวยงาม
ทั้งหมดทั้งมวลเมื่อกล้องและเลนส์รวมกันสามารถถ่ายการแสดงในที่แสงน้อยได้อย่างจัดจ้าน ให้ภาพที่มีรายละเอียดความคมชัดสูงสุดจากปริมาณพิกเซล 47.3 ล้าน เหมาะกับการถ่ายภาพบุคคลเพราะสีผิวสกินโทนสวยงามอันเป็นเอกลักษณ์ของพานาโซนิค กล้องและเลนส์ยังทำงานร่วมกันเป็นอย่างดีในด้านโฟกัส เพื่อจับทุกแอคชั่นของการแสดงไว้ได้ในเสี้ยววินาที อีกทั้งยังไร้การสั่นไหวเพราะกันสั่นในตัวกล้องและเลนส์ที่ทำงานด้วยกัน มั่นใจได้ว่ากล้องและเลนส์ในซีรียส์ Lumix S จะให้ประสิทธิภาพสูงสุดอย่างที่คาดหวังไว้ได้จริงๆ
ศุภชัย วีรยุทธานนท์ – ช่างภาพอิสระ, ช่างภาพใต้น้ำ
เริ่มถ่ายภาพใต้น้ำมาเป็นเวลากว่า 10 ปี มีประสบการณ์ถ่ายภาพใต้น้ำในหลายๆ ประเทศ ไม่ว่าจะเป็น ฟิลิปปินส์, เกาะสิปาดัน มาเลเซีย, เกาะบาหลี หมู่เกาะราชาอัมพัท เกาะมานาโด, ช่องแคบเลมเบห์ ในประเทศอินโดนีเซีย, หมู่เกาะมัลดีฟ, หมู่เกาะปาเลา, หมู่เกาะกาลาปากอส - เกาะ Cocos ในทวีปอเมริกาใต้, การดำน้ำในถ้ำที่ประเทศเมกซิโก ที่หมู่เกาะ Socorro, ฮาวาย, ถ่ายวาฬหลังค่อม ที่เกาะ Reunion ประเทศฝรั่งเศส นอกจากนี้ยังมีผลงานการถ่ายสารคดี เคยฝากผลงานการถ่ายสารคดีใต้น้ำว่าด้วยเรื่องชนเผ่าบาเจา ในช่องThai PBS และสารคดีวาฬ และฉลามในประเทศแอฟริกาใต้ ซึ่งผลงานหลายๆ ชิ้นก็ได้รับการตีพิมพ์ในสื่ออื่นอย่างหนังสือ และนิตยสารเป็นต้นรวมถึงได้รับรางวัลต่างๆมาแล้วทั้งในระดับประเทศ และระดับสากล
ผลิตภัณฑ์แนะนำ
DC-S1RGA-K
กล้อง DSLM (Digital Single Lens Mirrorless) แบบฟูลเฟรมที่มีเซ็นเซอร์ MOS ความละเอียด 47.3 ล้านพิกเซล และโหมดความละเอียดสูง 187 ล้านพิกเซล
DC-S1RMGA-K
กล้อง DSLM (Digital Single Lens Mirrorless) แบบฟูลเฟรมที่มีเซ็นเซอร์ MOS ความละเอียด 47.3 ล้านพิกเซล และโหมดความละเอียดสูง 187 ล้านพิกเซล ชุดเลนส์ 24-105 มม.