Firework in the Sky ถ่ายพลุกับ Lumix S5

Firework in the Sky ถ่ายพลุกับ Lumix S5

ปลายปีคือช่วงเวลาแห่งเทศกาลและการเฉลิมฉลอง หลายที่ก็เพิ่มความน่าตื่นตาตื่นใจด้วยการแสดงพลุ ช่วงนี้คือสวรรค์สำหรับช่างภาพที่ต้องการฝึกมือการถ่ายภาพพลุ สามารถเลือกไล่เก็บภาพทดสอบฝีมือ ทดสอบอุปกรณ์กันได้ตั้งแต่ งานลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย ช่วงเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน เทศกาลพลุพัทยาที่จัดเป็นประจำทุกปีในช่วงเดือนพฤศจิกายน พลุเปิด-ปิดงานพรรณไม้งามอร่ามสวนหลวง ร.๙ ช่วงเดือนธันวาคม รวมถึงงานเฉลิมฉลองปีใหม่ก็มีหลายที่ เช่น ที่ Icon Siam ไล่ยาวไปถึงงานพระนครคีรี หรือพลุเขาวังช่วงเดือนกุมภาพันธ์ เป็นต้น

ซึ่งการที่จะเลือกไปถ่ายพลุที่ไหน โลเคชั่นแต่ละที่นับว่าเป็นส่วนสำคัญสำหรับการจัดองค์ประกอบภาพอย่างยิ่ง เช่น จะมีฉากหน้า ฉากหลังอะไร ที่เสริมให้ภาพพลุโดดเด่น ดูมีเรื่องราวกว่าการถ่ายภาพพลุอย่างเดียว เช่น การถ่ายพลุที่พัทยา หากเห็นฉากหน้าเป็นชายหาด เห็นผู้คนคลาคล่ำถือโทรศัพท์มือถือถ่ายพลุกันเต็มหาด รูปก็สามารถเล่าเรื่องราวได้ หรือพลุที่เขาวัง ก็มีฉากหลังเป็นเจดีย์บนเขาสูงทำให้ได้บรรยากาศอีกแบบ หรือถ้าถ่ายพลุที่สุโขทัยก็จัดองค์ประกอบภาพให้อุทยานประวัติศาสตร์ องค์พระพุทธรูป เป็นฉากหลัง ดังนั้นการถ่ายพลุจึงจำเป็นต้องหาโลเคชั่นเหมาะๆ ต้องรู้ว่าพลุจุดจากตรงไหน รวมถึงตารางเวลาในการจุดพลุ

Firework in the Sky ถ่ายพลุกับ Lumix S5

อุปกรณ์

เมื่อได้โลเคชั่นแล้ว มาถึงอุปกรณ์ที่ผมเตรียมไปในครั้งนี้ คือ
* กล้อง Lumix S5
* เลนส์ Lumix S Pro 24-70 mm
* ขาตั้งกล้อง
* สายลั่นชัตเตอร์

Firework in the Sky ถ่ายพลุกับ Lumix S5
Firework in the Sky ถ่ายพลุกับ Lumix S5

ผมมุ่งหน้าไปพัทยา ด้วยความตื่นเต้น เพราะอยากทดสอบใช้ Lumix S5 ในการถ่ายพลุ ทำไมต้องตื่นเต้น ก็เพราะความดีงามของกล้อง Lumix S5 คือมี function Live Composite ซึ่งทำให้สามารถถ่ายภาพพลุจบหลังกล้องได้เลยในทันที ซึ่งหากเราใช้กล้องรุ่นที่ไม่มีฟังค์ชั่นนี้อาจต้องเพิ่มขั้นตอนหลังการถ่าย โดยใช้เทคนิคซ้อน layers ใน Photoshop โดยใช้คำสั่ง lighten ซึ่งคำสั่งนี้จะนำเอาส่วนสว่างของภาพคือพลุที่เป็นชั้นๆ มาซ้อนกัน ในการสร้างภาพใหม่ให้ได้ตามความพอใจ

ตัวอย่างการซ้อนภาพใน Photoshop

Live Composite

การทำงานของ Live Composite ใน Lumix S5 นั้นสะดวก ง่ายดายกว่า นั่นคือกล้องจะบันทึกภาพไฟพลุไว้อย่างต่อเนื่องตั้งแต่เมื่อเริ่มกดชัตเตอร์ และหยุดการบันทึกเมื่อเราปล่อยชัตเตอร์ โดยเราจะเห็นภาพพลุค่อยๆ ปรากฏขึ้น รวมเป็นภาพขี้นมาในเสี้ยววินาที บนจอ LCD

เมื่อเราสามารถเห็นภาพได้หลังจอ Live View เราจึงสามารถเลือกได้ว่าต้องการถ่ายพลุในช่วงระยะเวลานานแค่ไหน ซึ่งโดยส่วนใหญ่มักจะเริ่มถ่ายจากเมื่อได้ยินเสียงพลุยิงจากฐานยิง ยาวไปจนกระทั่งเสียงปังสุดท้ายของพลุลูกที่ใหญ่ที่สุด สูงที่สุดในชุดนั้นระเบิดออกมาจึงค่อยหยุดการบันทึก กล้องก็จะทำการรวมภาพพลุทั้งหมดตั้งแต่ต้นจนภาพสุดท้ายออกมาเป็นหนึ่งภาพให้ ก็จะเห็นได้ว่าการถ่ายพลุด้วยกล้อง Lumix S5 ช่างง่ายดาย ไม่ยุ่งยากจบได้ในกล้องโดยไม่ต้องพึ่งโปรแกรมอื่นๆ

หมายเหตุ - อีกสิ่งที่สำคัญคือจะต้องมีสายลั่นชัตเตอร์เป็นอุปกรณ์เสริมเพื่อช่วยให้ได้ภาพที่ไม่สั่นไหว

S5 ใช้ฟังก์ชั่น Live Composite เนื่องจาก Lumix S5 สามารถดูได้เลยว่าเราต้องการพลุนานแค่ไหนอย่างไรหลังจอ Live View การถ่ายภาพจึง

Firework in the Sky ถ่ายพลุกับ Lumix S5

ตัวอย่างการตั้งค่ากล้อง
F8 - F11 ISO 100-160 1/3 sec - 2 sec

Tips 1

ขนาดของพลุจะลดหลั่นกันไปตามความสูง ยิ่งพลุที่โดนยิงขึ้นไปสูงจะมีขนาดใหญ่มากที่สุด ทั้งนี้ต้องเผื่อเฟรมของภาพไว้ตามขนาดของพลุด้วย ซึ่งเราสามารถปรับเปลี่ยนหลังจากเห็นการจุดพลุแล้วในชุดต้นๆ ของการจุดหรือวันแรกๆ ของการจุดพลุ

Tips 2

การตั้งค่าสปีดชัตเตอร์ไวก็จะทำให้สามารถเก็บรายละเอียดได้อีกแบบเช่น สะเก็ดเล็กๆ จะไม่ลากยาวเป็นเส้น ทำให้ดูเหมือนดอกแดนดิไลออน

สรุป 

* ผลของการใช้ Lumix S5 และ function Live Composite ในการถ่ายพลุครั้งนี้ นับว่าเป็นที่น่าพอใจสำหรับผม โดยปกติแล้ว Live Composite มักจะใช้ในการถ่ายเส้นไฟรถวิ่งในช่วงเย็นหรือค่ำ แต่ครั้งนี้เป็นการประยุกต์เพื่อถ่ายภาพพลุ ซึ่งในโหมดนี้กล้องจะเก็บภาพแรกเพื่อใช้ในการลด Noise ภายในภาพ

* สิ่งที่สำคัญในการถ่ายพลุ หลักๆ แล้วนอกจากเรื่องกล้อง และอุปกรณ์ต่างๆ แล้ว อีกสิ่งที่สำคัญคือการหาจุดโลเคชั่นในการถ่ายพลุ จำเป็นจะต้องดูว่าพลุจุดจากจุดไหน ต้องทราบตารางเวลาในการจุดพลุเพื่อการเตรียมการ และที่สำคัญโลเคชั่นดีๆ ก็มักจะมีช่างภาพจับจองกันเป็นจำนวนมากจึงควรต้องเผื่อเวลาในการจองมุมสวยๆ ไว้แต่เนิ่นๆ ด้วย

* และแน่นอนว่าพลุต้องจุดในเวลาหัวค่ำ ยากันยุง น้ำ อาหาร เป็นสิ่งที่ควรติดไปด้วยนะครับ

ขอให้ถ่ายพลุสวยๆ ได้อย่างสนุกสนานนะครับ

ภาพพลุจากงาน Amazing Thailand Countdown 
2021- Iconsiam

Firework in the Sky ถ่ายพลุกับ Lumix S5
ศุภชัย วีรยุทธานนท์ – ช่างภาพอิสระ, ช่างภาพใต้น้ำ ศุภชัย วีรยุทธานนท์ – ช่างภาพอิสระ, ช่างภาพใต้น้ำ

ศุภชัย วีรยุทธานนท์ – ช่างภาพอิสระ, ช่างภาพใต้น้ำ เริ่มถ่ายภาพใต้น้ำมาเป็นเวลากว่า 10 ปี มีประสบการณ์ถ่ายภาพใต้น้ำในหลายๆ ประเทศ ไม่ว่าจะเป็น ฟิลิปปินส์, เกาะสิปาดัน มาเลเซีย, เกาะบาหลี หมู่เกาะราชาอัมพัท เกาะมานาโด, ช่องแคบเลมเบห์ ในประเทศอินโดนีเซีย, หมู่เกาะมัลดีฟ, หมู่เกาะปาเลา, หมู่เกาะกาลาปากอส - เกาะ Cocos ในทวีปอเมริกาใต้, การดำน้ำในถ้ำที่ประเทศเมกซิโก ที่หมู่เกาะ Socorro, ฮาวาย, ถ่ายวาฬหลังค่อม ที่เกาะ Reunion ประเทศฝรั่งเศส นอกจากนี้ยังมีผลงานการถ่ายสารคดี เคยฝากผลงานการถ่ายสารคดีใต้น้ำว่าด้วยเรื่องชนเผ่าบาเจา ในช่องThai PBS และสารคดีวาฬ และฉลามในประเทศแอฟริกาใต้ ซึ่งผลงานหลายๆ ชิ้นก็ได้รับการตีพิมพ์ในสื่ออื่นอย่างหนังสือ และนิตยสารเป็นต้นรวมถึงได้รับรางวัลต่างๆมาแล้วทั้งในระดับประเทศ และระดับสากล