ปลากัดไทย

ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ย้อนกลับไปถึงการเลี้ยงปลากัดตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี ปลากัดถูกเพาะเลี้ยงไว้สำหรับกัดกันเพื่อการพนันขันต่อ

แต่ในปัจุบัน ปลากัดถูกเลี้ยงไว้เพื่อความสวยงาม และได้รับการพัฒนาสายพันธุ์มาอย่างต่อเนื่อง จนได้เป็นปลากัดที่มีสีสันสด และหางยาวสวยงามโดยเฉพาะในตัวผู้ ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับการพัฒนาสายพันธุ์มาจากปลากัดป่าของไทย

การบันทึกภาพปลากัดด้วยเลนส์มาโคร ทำให้เราสามารถบันทึกลวดลายบนลำตัว และหางปลารวมถึงจังหวะการว่ายอันงดงามและพริ้วไหวของปลากัด ได้ดีกว่าการใช้เลนส์ปกติ

ภาพปลากัดในเซ็ทนี้บันทึกด้วยกล้อง Lumix GH5 เลนส์มาโคร H-ES045E ระยะ 45 mm และ H-HS030E เลนส์มาโครระยะ 30 mm ให้อัตราส่วนกำลังขยายภาพแบบ 1:1

โดยตู้ปลาที่ใช้สำหรับถ่ายภาพจะไม่ใช้โหลทรงโค้งหรือกลม แต่เป็นตู้ปลาทรงเหลี่ยม เพื่อป้องการการบิดเบี้ยวหรือผิดส่วนของภาพ และจะมีการติดตั้งแฟลชไว้เหนือตู้ปลา พร้อมทั้งแผ่นกรองแสงจากแฟลชเพื่อกระจายแสงแฟลชให้กว้าง นุ่มนวล และมีกระจกสะท้อนด้านล่างตู้ด้วย

แสงแฟลชนอกากจะช่วยเพิ่มแสงให้เห็นรายละเอียดต่างๆ บนตัวปลาได้ชัดเจนแล้ว ยังทำให้สามารถบันทึกภาพด้วยชัตเตอร์สปีดที่สูง ทำให้ภาพมีความคมชัดไม่สั่นไหว

สำหรับการตั้งค่ากล้อง ใช้ mode manual ตั้ง speed ให้กล้องและแฟลช sync กันในช่วง 1/200 – 1/320 หน้ากล้องใช้รูรับแสง 14 ขึ้นไปเพื่อรักษาระยะชัดของตัวปลาตั้งแต่ตาไปจนถึงหาง mode บันทึกภาพแบบ continue สำหรับจับจังหวะที่ต้องการ

ปลากัดที่เป็นแบบในภาพเซ็ทนี้เป็นปลากัดหางมุงกุฏ 1 ตัว และที่เหลือคือปลากัดที่มีครีบยาวคล้ายหูช้าง