Special Offer

เลือกสี
Quantity error. Please input 1 to 99.{0} items left in stock.

Special Offer

เพิ่มสินค้าในตะกร้าสำเร็จ

  • ราคา:รวม VAT

Sorry, unexpected issue is occurred.
Please close this window and retry the purchase.

เลือกสี
ราคาขายปลีกแนะนำ: ราคาขายบนเว็บ Panasonic: SHOP NOW SHOP NOW WHERE TO BUY ซื้อบนเว็บ Panasonic Where to Buy สินค้าขาดสต๊อกบนเว็บ Panasonic มีสต๊อก /content/dam/Panasonic/EC-icon/icn-stock-in.png มีสต๊อก สินค้าขาดสต๊อก /content/dam/Panasonic/EC-icon/icn-stock-out.png สินค้าขาดสต๊อก จะมีสินค้าเร็วๆ นี้ /content/dam/Panasonic/EC-icon/icn-stock-soon.png จะมีสินค้าเร็วๆ นี้ Panasonic false false คลิกยอมรับนโยบายคุกกี้เพื่อดำเนินการสั่งซื้อ You need to opt in cookie policy if you want to add to cart. VISIT Panasonic ONLINE SHOP รูปของ {0}

GH6_2

LUMIX BLOG

 พัฒนาการของกล้อง LUMIX GH6

LUMIX BLOG

Hiroaki Kanto (ผู้พัฒนาเซนเซอร์)

Akihiro Okamoto (ผู้ออกแบบคุณภาพของภาพ)

Kyosuke Osuka (ผู้ออกแบบซอฟต์แวร์)

กล้อง Micro Four Thirds ในวันที่ก้าวเข้าสู่ยุคแห่งระบบฟูลเฟรม

คุณภาพของภาพเป็นจุดสนใจหลักสำหรับ GH6

ในการพัฒนา LUMIX เรามุ่งมั่นที่จะยกระดับคุณภาพภาพอยู่เสมอ และสำหรับ GH6 เรามีเป้าหมายที่จะมอบคุณภาพของภาพที่ใกล้เคียงกับกล้องฟูลเฟรม แม้ว่า GH6 จะเป็นกล้องแบบ Micro Four Thirds ก็ตาม การเผชิญกับความท้าทายจากเซนเซอร์ฟูลเฟรมที่มีขนาดใหญ่กว่าประมาณสี่เท่าเป็นเรื่องที่ยากสำหรับการใช้เทคโนโลยีแบบเดิม เราจึงตัดสินใจพัฒนาเซนเซอร์ภาพและระบบประมวลผลภาพที่กำหนดค่าของอุปกรณ์ขึ้นมาใหม่ทั้งหมด รวมตรวจสอบและปรับโครงสร้างซอฟต์แวร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุดให้กับกล้องรุ่นนี้ กระบวนการพัฒนานี้เป็นเส้นทางที่ยากและใช้เวลานานถึงห้าปี แต่เราก็สามารถปรับปรุงประสิทธิภาพพื้นฐานต่างๆ อย่างเช่น ความไวแสง ความอิ่มตัวของสี และการจัดการจุดนอยส์ พร้อมทั้งเพิ่มความเร็วในการทำงานของอุปกรณ์ได้อย่างมาก

หลังจากการวางรากฐานทั้งในเรื่องฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์แล้ว เรายังสามารถรับมือกับปัญหาเดิมๆที่ระบบ Micro Four Thirds ไม่สามารถทำได้อีกด้วย

ก้าวสู่ช่วงไดนามิกเรนจ์ของกล้องแบบฟูลเฟรม

ก้าวสู่ช่วงไดนามิกเรนจ์ของกล้องแบบฟูลเฟรม

©Olivier Lavielle

นับตั้งแต่ G9 PRO LUMIX ได้ยึดหลักปรัชญา “จับภาพไว้ได้ทั้งหมด” โดยใช้วิธีการสร้างภาพถ่ายในรูปแบบเดียวกันสำหรับ LUMIX ทุกรุ่น เราพิจารณา และให้ความสำคัญถึงปัจจัยในเชิงนามธรรมที่มาจากการตอบสนองต่อสิ่งต่างๆ ในขณะสร้างภาพถ่าย โดยวิศวกรของเราได้ร่วมเดินทางไปกับผู้สร้างสรรค์งานในการถ่ายภาพเพื่อประเมินการแสดงความรู้สึกผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้าเพื่อให้เข้าใจอารมณ์และความรู้สึกของพวกเขา

ระหว่างการพัฒนารุ่นฟูลเฟรม เราได้เข้าร่วมการถ่ายภาพในสภาพแวดล้อมที่ท้าทายและหนาวเย็น เช่น ฮอกไกโดและฮักโกดะ โดยที่เราใช้เวลาค้างแรมในรถ เพื่อเก็บประสบการณ์จากสภาพแวดล้อมที่พบเจอในการถ่ายทำ ซึ่งนำมาปรับใช้ในการออกแบบคุณภาพของภาพ โดยเฉพาะเรื่องของสีขาวและพื้นผิวหิมะที่จะสามารถถ่ายทอดความหนาวเย็นที่สัมผัสผิวได้หรือไม่ การถ่ายภาพเน้นการไล่โทนสีขาว ทำให้เราต้องปรับแต่งอย่างละเอียดและหลายครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่าสามารถถ่ายทอดรายละเอียดของโทนสีในช่วงเดียวกัน เช่น ขาวและดำ ได้อย่างแม่นยำ ผลลัพธ์ที่ได้คือสามารถถ่ายทอดโทนสีได้อย่างหลากหลาย พร้อมกับการใช้ศักยภาพของกล้องฟูลเฟรมอย่างเต็มที่

ความรู้ที่สั่งสมจากประสบการณ์เหล่านี้ทำให้ GH6 มาพร้อมกับช่วงไดนามิกเรนจ์ที่กว้างถึง 13+ สต็อป แม้ว่าจะเป็นกล้องแบบ Micro Four Thirds ก็ตาม และด้วยความมุ่งมั่นของ LUMIX ที่จะยกระดับคุณภาพของภาพวิดีโอให้เทียบเท่ากับภาพถ่าย เราจึงไม่เพียงแค่เพิ่มความสว่างในพื้นที่ที่มืดเกินไป แต่ยังได้ประมวลผลภาพเพื่อให้ยังคงรักษาการไล่โทนสีที่ดี แม้ในบริเวณที่มีแสงน้อย เราหวังว่าคุณจะได้สัมผัสประสบการณ์การถ่ายทอดความรู้สึกผ่านการจัดการแสงและเงา ด้วยการไล่โทนสีที่หลากหลายและสวยงามเหมือนกับกล้องฟูลเฟรม

รวมถึงมีความละเอียดของภาพในระดับฟูลเฟรมอีกด้วย!

รวมถึงมีความละเอียดของภาพในระดับฟูลเฟรมอีกด้วย!

©Olivier Lavielle

เมื่อวิเคราะห์ภาพถ่ายอย่างละเอียดแล้ว ตามที่ช่างภาพระบุว่า "สามารถถ่ายทอดได้ด้วยกล้องแบบฟูลเฟรมเท่านั้น"  พบว่าไม่เพียงสมบูรณ์แบบในเรื่องของการไล่เฉดสี แต่ยังรวมถึงรายละเอียดต่างๆ ด้วย ในขณะที่กล้อง Micro Four Thirds มักมีจุดนอยส์มากกว่าฟูลเฟรม ซึ่งการใช้ NR มักทำให้สูญเสียรายละเอียด ด้วยเหตุนี้ GH6 จึงได้พัฒนาเทคโนโลยีประมวลผลภาพด้วยระบบประมวลผลใหม่ เพื่อให้มั่นใจว่าจะสามารถเก็บรายละเอียดทั้งหมดโดยที่มีความละเอียดสูงได้ทั้งในภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว

นอกจากนี้ เรายังได้พัฒนาคุณภาพของภาพวิดีโอในระดับความไวแสงสูง ซึ่งมักจะถือเป็นจุดอ่อนของระบบ Micro Four Thirds ในการพัฒนา NR (Noise Reduction) สำหรับวิดีโอ เราให้ความสำคัญกับลักษณะของจุดนอยส์ เพื่อให้ผู้ชมยังคงได้รับประสบการณ์ที่ดี แม้จะมีจุดนอยส์ปรากฏอยู่บ้าง การประมวลผลซอฟต์แวร์ในขั้นตอนนี้เป็นงานที่ท้าทายและซับซ้อน แต่เราก็ไม่ได้ตัดสินใจจากการประเมินทางเทคนิคหรือการวิเคราะห์ภาพเพียงอย่างเดียว แต่ยังคำนึงถึงความคิดเห็นจากทีมงานที่มีประสบการณ์ในด้านการถ่ายภาพ เราจึงมั่นใจว่าได้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจ

ด้วยวิธีนี้ GH6 ก็เสร็จสมบูรณ์ และบรรลุตามเป้าหมาย ในการออกแบบคุณภาพของภาพที่เพิ่มประสิทธิภาพของเซนเซอร์และระบบประมวลผลขั้นสูง เรียกได้ว่าเราได้ก้าวข้ามข้อจำกัดของการถ่ายภาพ ที่เคยถ่ายทอดได้ด้วยกล้องแบบฟูลเฟรมเท่านั้น

พัฒนาการของกล้อง LUMIX GH6