Noodle
“ก๋วยเตี๋ยว” อาหารในชีวิตประจำวัน ที่ชาวสยามประเทศคุ้นเคย ที่มาของคำว่า “ก๋วยเตี๋ยว” อาจมาจากภาษาจีนแต้จิ๋ว “粿条/粿條” โดยในภาษาจีนแต้จิ๋วอ่านว่า “ก๋วยเตี๊ยว” ในขณะที่จีนฮกเกี้ยนอ่านว่า “ก๋วยเตี๋ยว”
เราเชื่อกันตามหลักฐานว่า ชาวจีนนำอาหารประเภทเส้น เข้ามายังสยามประเทศตั้งแต่สมัยอยุธยา ซึ่งเมื่อเข้ามาแล้ว ก็มีพัฒนาการภายในให้เข้ากับวัตถุดิบที่มีอยู่ จนกลายเป็นก๋วยเตี๋ยวนานาชนิด หลากเนื้อสัตว์ มากน้ำซุป ที่ต่างจากต้นกำเนิดในจีน (ซึ่งในจีนเองก็มีความหลากหลายมาก) การทำ “เส้นยาวๆ ลวกน้ำร้อน” มีทั้งที่ใช้แป้งข้าวเจ้า (ก๋วยเตี๋ยว) ถ้าใช้แป้งข้าวสาลี จะเรียกว่า “บะหมี่” [面条/麵條] (ซึ่งมีบะหมี่ที่ทั้งใส่ใข่และไม่ใส่ใข่ด้วยเช่นกัน)
โจทย์ของเราในครั้งนี้คือแสดงให้เห็นก๋วยเตี๋ยวหลายชนิดที่ใช้ทั้ง ไก่ หมู วัว และบะหมี่ อาหารธรรมดาๆ ที่ทุกคนเคยทาน อันแสดงให้เห็นถึง “การปะทะสังสรรค์ระหว่างวัฒนธรรมไทย-จีน” จนอาจกล่าวได้อย่างมั่นใจว่า...
ความสัมพันธ์ จีน-ไทย โยงใยอยู่ในก๋วยเตี๋ยว (เกี๊ยว บะหมี่)
เสน่ห์ของก๋วยเตี๋ยวอร่อย นอกจากความพิถีพิถันของคนทำแล้ว ความมีชีวิตชีวาของร้านก๋วยเตี๋ยวคือสิ่งที่น่าชม น่ามอง การบันทึกสิ่งเหล่านี้ให้คงเสน่ห์ โดยแต่เพียงขออนุญาตแต่ไม่เข้าไปจัดการหรือ “เซ็ต” ฉากจนคนทำคนกินเกร็งเกินไป คือความยากของงานนี้ เท่ากับว่าเราต้องบันทึกวีดีโออย่างยาวนานด้วย เพื่อให้ได้ “ช็อต” ที่ต้องการโดยไม่รบกวนคนทำ คนกิน
การบันทึกวีดีโอได้อย่างยาวนานโดยกล้องไม่เกิดอาการ “heatstroke” คือพัฒนาการสำคัญ ของ Panasonic Lumix GH5s ด้วยเทคโนโลยี ที่ออกแบบระบบปฏิบัติการ และระบบระบายความร้อนใหม่ ที่ทำให้ GH5s ระบายความร้อนได้ดีกว่า GH4 ถึง 3 เท่า!
ด้วยเทคโนโลยีใหม่นี้ ทำให้ข้อจำกัดของเราน้อยลง เล็กลง สามารถสร้าง “เนื้อหาใหม่ๆ” ที่น่าสนใจ หลากหลาย และถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกที่เป็นไปไม่ได้ ให้เป็นไปได้มากยิ่งขึ้น
ถ่ายทำโดย กล้อง Lumix GH5S
ฆนัท นาคถนอมทรัพย์
นักวิชาการอิสระ, เชฟ เจ้าของร้านอาหาร
บทความแนะนำ